วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อวัยวะในร่างกายมนุษย์

สมองเป็นส่วนที่หนึ่ง
        ของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง ออกเป็น 3 ส่วนตามวิวัฒนาการของสมอง

สมอง
ส่วนแรก
       อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ ซึ่ง ดร.ไพรบรัม แนะนำว่า เราควรจะเรียก เรปทิเลียนเบรน หรือ สมอง ของ สัตว์เลื้อยคลาน ว่า คอร์เบรน (Core brain) หรือแกนหลัก ของ สมอง คือ สมอง ที่อยู่ที่ แกนสมอง หรือ ก้านสมอง นั่นเอง มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อ ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย

สมอง
ส่วนที่สอง
        เรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบ ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น ทําให้คนเรา มีความสามารถใน การปรับตัว ปรับ พฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากมี สิ่งกระตุ้น ที่ไม่ดีเข้ามา สมอง ส่วนนี้จะ แปลข้อมูล ออกมาเป็น ความเครียด หรือไม่มีความสุข

สมองส่วนที่สาม

        เรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้



ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว


ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา
ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย
ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก

ประเภทของฟัน

  • ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
  • ฟันเขี้ยว (cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
  • ฟันกรามน้อย (premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ)
  • ฟันกราม (molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

       จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย


 หลอดลม  เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์


ปอด  มีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
     ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
     หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
              คอหอยเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เนื่องจากทั้งอาหารและอากาศต่างผ่านเข้าสู่คอหอย ร่างกายมนุษย์จึงมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ปิดช่องท่อลมเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อป้องกันการสำลัก ในมนุษย์ คอหอยยังมีความสำคัญในการออกเสียง

 

ส่วนต่างๆ ของคอหอย

คอหอยของมนุษย์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

 คอหอยส่วนปาก

คอหอยส่วนปาก หรือคอหอยหลังช่องปาก (oropharynx) เป็นส่วนที่อยู่หลังช่องปาก ผนังด้านหน้าประกอบด้วยฐานของลิ้นและวัลเลคิวลา (vallecula; ช่องระหว่างลิ้นกับฝาปิดกล่องเสียง) ผนังด้านข้างเกิดจากต่อมทอนซิล, แอ่งทอนซิล (tonsillar fossa) , และผนังช่องปาก (faucial pillars) ผนังด้านบนประกอบด้วยพื้นผิวด้านล่างของเพดานอ่อนและลิ้นไก่

คอหอยส่วนจมูก

คอหอยส่วนจมูก หรือคอหอยหลังโพรงจมูก (nasopharynx) ตั้งอยู่ด้านหลังโพรงจมูก ด้านหลังเยื้องด้านบนของส่วนนี้ มาจากระดับรอยต่อของเพดานอ่อนและเพดานแข็ง ถึงฐานของกะโหลกศีรษะ ด้านข้างเป็นแอ่งโรเซนมุลเลอร์ (fossa of Rosenmuller) ผนังด้านล่างประกอบด้วยพื้นผิวด้านบนของเพดานอ่อน

คอหอยส่วนกล่องเสียง

คอหอยส่วนกล่องเสียง หรือคอหอยหลังกล่องเสียง (laryngopharynx หรือ hypopharynx) อยู่ที่ประมาณระดับ C3 ถึง C6 บริเวณนี้มีจุดเชื่อมกล่องเสียงและหลอดอาหาร (บริเวณหลังกระดูกอ่อนไครคอยด์ (postcricoid area)) , แอ่งพิริฟอร์ม (piriform sinus) , และผนังคอหอยด้านหลัง (posterior pharyngeal wall)
เช่นเดียวกับคอหอยส่วนปากที่อยู่ด้านบน คอหอยส่วนกล่องเสียงเป็นทางผ่านของทั้งอาหารและอากาศ และดาดด้วยเนื้อเยื่อบุผิวชนิดสแตรทิฟายด์ สความัส (stratified squamous epithelium)
ส่วนนี้จะวางตัวอยู่ด้านหน้าฝาปิดกล่องเสียง และยื่นลงมาจดกล่องเสียงซึ่งเป็นบริเวณที่แยกออกเป็นทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร หลอดอาหารจะนำอาหารลงไปยังกระเพาะอาหาร ส่วนอากาศจะผ่านกล่องเสียงซึ่งอยู่ด้านหน้า ระหว่างการกลืนการหายใจจะหยุดชั่วครู่เพื่อให้อากาศผ่านลงไปยังหลอดอาหาร



กระดูกสันหลัง (อังกฤษ: Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง

กายวิภาคศาสตร์ของกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังนอกจากเป็นโครงสร้างแข็งแรงที่ปกป้องแกนของไขสันหลังแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อของหลัง และยังเชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ (skull) กระดูกสะบัก (scapula) กระดูกเชิงกราน (pelvic bones) และกระดูกซี่โครง (ribs) อีกด้วย
  1. กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) ซึ่งมีจำนวน 7 ชิ้น อยู่ในช่วงลำคอ กระดูกสันหลังในส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลำคอและศีรษะ
  2. กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) มีจำนวน 12 ชิ้น อยู่ในส่วนอก และมีลักษณะพิเศษคือจะมีจุดเชื่อมต่อสำหรับกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นโครงร่างสำคัญของช่องอก
  3. กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Lumber vertebrae) มี 5 ชิ้น อยู่ในช่วงเอว และมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกายท่อนบน และมีส่วนเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อที่เป็นผนังทางด้านหลังของช่องท้องอีกด้วย
  4. กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานและขา
  5. กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccygeal vertebrae) ซึ่งอาจมี 3-4 ชิ้น ซึ่งจะเชื่อมกันเป็นกระดูกชิ้นเดียวเป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมที่ปลายด้านล่างสุด

กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae)

ลักษณะทั่วไปของกระดูกสันหลังส่วนคอคือจะค่อนข้างเล็กและเตี้ย รูปร่างของ body เมื่อมองจากด้านบนจะออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งจะเว้าทางด้านบน แต่นูนออกทางด้านล่าง vertebral foramen จะเป็นรูปสามเหลี่ยม มี spinous process ที่สั้นและแยกเป็นสองแฉก (bifid) ที่สำคัญคือมีช่องที่ transverse process ที่เรียกว่า ฟอราเมน ทรานส์เวอร์สซาเรียม (foramen transversarium) ซึ่งภายในเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (Vertebral artery) ซึ่งนำเลือดขึ้นไปเลี้ยงบริเวณก้านสมองและไขสันหลัง กระดูกสันหลังส่วนคอที่มีลักษณะเฉพาะคือชิ้นแรกและชิ้นที่สอง ซึ่งเรียกว่า แอตลาส (atlas) และแอกซิส (axis) ตามลำดับ
  • กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรก (First cervical vertebra) หรือแอตลาส (Atlas) เป็นกระดูกสันหลังที่ต่อกับกระโหลกศีรษะโดยตรง ลักษณะที่สำคัญคือจะไม่มีส่วนของ body แต่ตรงกลางจะเป็นช่องเปิดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยแนวกระดูกโค้งทั้งทางด้านข้าง ด้านหน้าและด้านหลังที่บริเวณผนังด้านข้างของช่องนี้ทางด้านบนจะเป็นจุดต่อกับปุ่มท้ายทอย (occipital condyle) ของกระโหลกศีรษะโดยข้อต่อท้ายทอย (atlanto-occipital joint) ขณที่ส่วนด้านล่างจะต่อกับ superior articular process ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง ที่แนวกระดูกโค้งทางด้านหน้าจะเป็นพื้นผิวข้อต่อสำหรับเดือยที่เรียกว่า เดนส์ (dens) ซึ่งยื่นขึ้นมาจาก body ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง และจะถูกตรึงไว้กับที่ด้วยเอ็นแนวขวาง (transverse ligaments of atlas) ซึ่งอยู่ทางด้านหลัง โครงสร้างนี้ทำหน้าที่คล้ายเดือยที่ทำให้แอตลาสสามารถหมุนได้ในระดับหนึ่ง ส่วน transverse processes ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกนี้จะยื่นออกไปทางด้านข้างมากเป็นพิเศษ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อต่อระหว่างกระดูกแอตลาสกับแอกซิส (Atlanto-axial joint)
  • กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง (Second cervical vertebra) หรือแอกซิส (Axis) จะมีลักษณะที่สำคัญคือ dens ที่ยื่นขึ้นไปด้านบน นอกจากนี้ที่บริเวณด้านข้างเยื้องไปทางด้านบนเล็กน้อยของ dens จะมีรอยบุ๋มเล็กๆทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็น alar ligaments ซึ่งเชื่อมระหว่าง dens กับ occipital condyle และป้องกันการหมุนที่มากเกินไประหว่างศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอ

กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae)

กระดูกสันหลังส่วนอกทั้ง 12 ชิ้นจะมีลักษณะเด่นคือรอยต่อกับกระดูกซี่โครง (costal facets) ที่แต่ละข้างของ vertebral body เพื่อติดต่อกับปลายส่วนหัวของกระดูกซี่โครง นอกจากนี้บน transverse process ยังมีรอยต่อทางด้านข้าง (transverse costal facets) เพื่อต่อกับส่วนปุ่มของกระดูกซี่โครง (tubercle of rib)

กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว (Lumbar vertebrae)

กระดูกสันหลังส่วนเอวทั้ง 5 ชิ้นจะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น และมี transverse processes ที่บางและยาว ยกเว้นกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่5 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เพื่อเป็นจุดเกาะของเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกสันหลังส่วนเอวกับกระดูกเชิงกราน (ileolumbar ligaments) ซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังชิ้นนี้กับกระดูกเชิงกราน

กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral vertebrae) และส่วนก้นกบ (Coccyx)

กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บเป็นกระดูกห้าชิ้นที่เชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และมีปลายชี้ไปทางด้านล่าง ลักษณะของกระดูกชิ้นนี้จะเว้าทางด้านหน้าและนูนออกไปทางด้านหลัง ทางด้านบนจะมีรอยต่อขนาดใหญ่กับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 5 ส่วนด้านล่างจะต่อกับกระดูกสันหลังส่วนก้นกบ ที่ด้านข้างรอยต่อรูปตัว L ขนาดใหญ่เพื่อต่อกับกระดูกเชิงกราน พื้นผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะมีช่องเปิดอยู่ด้านละ 4 คู่ ซึ่งคือ posterior and anterior sacral foramina ซึ่งเป็นทางออกของแขนงเส้นประสาทจากไขสันหลังที่ออกไปสู่บริเวณเชิงกรานและขา สำหรับกระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx) จะอยู่ด้านล่างสุดของกระดูกสันหลัง เป็นกระดูกเล็กๆรูปสามเหลี่ยม และไม่มีทั้ง vertebral arch และ vertebral canal

ช่องเปิดระหว่างกระดูกสันหลัง (Intervertebral foramina)

ช่องเปิดระหว่างกระดูกสันหลัง (Intervertebral foramina) นี้เป็นช่องที่อยู่ทางด้านข้างระหว่างรอยต่อของกระดูกสันหลังสองชิ้นที่อยู่ติดกัน และเป็นทางผ่านของเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerves และหลอดเลือดต่างๆที่ผ่านเข้าออกช่องภายในกระดูกสันหลังและบริเวณไขสันหลัง และเนื่องจากขอบเขตของช่องส่วนใหญ่เป็นกระดูกและเอ็น ดังนั้นความผิดปกติของโครงสร้างโดยรอบช่องเปิดนี้ รวมถึงกล้ามเนื้อและข้อต่อ จะส่งผลต่อหลอดเลือดเส้นประสาทที่ผ่านช่องนี้ด้วย

 หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง
- หัวในห้องบนซ้าย
(Left atrium)      
มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
- หัวใจห้องบนขวา
(Right atrium)     
มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
-หัวใจห้องล่างขวา(
Right ventricle) 
มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
-หัวใจห้องล่างซ้าย
(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย



กระเพาะอาหาร (Stomach)
      กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร

หน้าที่การทำงาน
      หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพพซิน (pepsin) โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพพซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพพซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่างๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ แอสไพริน และคาเฟอีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า อินทรินซิค แฟคเตอร์ (intrinsic factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามิน บี12
ส่วนของกระเพาะอาหาร
      กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ซึ่งจะมีโครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่
      - ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร
      - ส่วนบน กระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือส่วนฟันดัส (fundus)
      - ส่วนกลาง (body)
      - ส่วนท้ายหรือส่วนไพลอรัส (pylorus) มี กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus) และ หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter) จะติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น


ลำไส้เล็ก  (Small Intestine)  เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร  ต่อมาจากกระเพาะอาหาร  มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร  ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง  มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม  เรียกว่า  วิลลัส  (Villus  พหูพจน์เรียกว่า  Villi)  เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ลำไส้ใหญ่  เป็นส่วนสุดท้ายของทางเดินอาหาร (ซึ่งเริ่มจากปาก) ทำหน้าที่เก็บเศษอาหาร ที่ผ่านจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อเตรียมการขจัดออกจากร่างกายในรูปของอุจจาระ ลำไส้ใหญ่มีความยาวต่อเนื่องราว 4-6 ฟุต ประกอบขึ้นด้วย ลำกล้ามเนื้อโดยรอบ แบ่งตามลักษณะเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (ASCENDING COLON)
2. ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (TRANSVERSE)
3. ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (DESCENDING COLON)
4. ลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยต์ (SIGMOID COLON)
5. ลำไส้ใหญ่ส่วนตรง (RECTUM) ซึ่งส่วนนี้จะต่อกับทวารหนัก




ม้าม  เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตับ


รังไข่  มีอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่แบน มีขนาด 3 x 1.5 x 1 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3 กรัม วางตัวอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทางด้านหลังของ broad ligament โดยมีเยื่อบุช่องท้องยึดระหว่างรังไข่ไว้กับ broad ligament เรียกว่า mesovarium ขอบด้านในของ mesovarium จะหนาตัวขึ้นเป็นพิเศษเรียก ligament of ovary ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างรังไข่กับมดลูก ภายใน mesovarium เป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
โครงสร้างภายในของรังไข่
          รังไข่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้อง ( peritoneum) เมื่อผ่ารังไข่ออกแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า ภายในรังไข่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้แบ่งรังไข่ออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้
ชั้นนอก ( cortex) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาแน่นมาก ในชั้นนี้มีไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ไข่แต่ละใบจะมีเซลล์บริวารล้อมรอบอยู่เสมอ
ชั้นใน ( medulla) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ภายในมีหลอดเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง



มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่าง pear-shape มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังbladder อยู่หน้าrectumและ igmoid colon โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix
  • องคชาต (Penis) ลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง
  • อัณฑะ (testicles) ลักษณะเป็นถุงห้อยย้อยภายนอกร่างกาย 2 ถุง ภายในถุงประกอบไปด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ ขดอยู่ภายในถุงอัณฑะ ทำหน้าที่ สร้างตัวอสุจิ หรือ สเปิร์ม ที่อยู่ในน้ำอสุจิโดยเซลล์ของผิวภายในหลอดจะแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิส (Meiosis) เพื่อให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ซึ่งมีโครโมโซมลดลงจาก 2n เหลือ n หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่พักตัวอสุจิสะสมไว้ในอัณฑะ หลอดนำอสุจิ ทำหน้าที่นำอสุจิจากอัณฑะไปพบต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ และเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะต้องการอุณหภูมิที่เย็นกว่าอุณหภูมิร่างกายเล็กน้อย ดังนั้นอัณฑะจึงเจริญออกมาอยู่ภายนอกร่างกาย โดยอยู่ภายใน ถุงอัณฑะ ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่ยืดขยายได้ เพื่อการปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะกับอัณฑะ และอัณฑะยังทำหน้าที่ ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) หรือ ฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งใช้กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ และการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถุงอัณฑะมีสีคล้ำกว่าบริเวณอื่นภายในของร่างกาย ซึ่งถือว่าปกติ ผู้ชายที่เติบโตเต็มที่ มีลูกอัณฑะสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งก็ถือว่าปกติ
  • ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicle) ทำหน้าที่ สร้างอาหารแก่ตัวอสุจิ
  • ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) ทำหน้าที่ สร้างสารที่เป็นเบสอย่างอ่อน เพื่อปรับความเป็นกรดเบสเมื่อผ่านเข้าภายในช่องคลอด และสารสีขาวเพื่อช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว เข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิ


ไต  มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วแดง มีสองข้าง เมื่อสดๆ มีสีแดงแกมน้ำตาลและเป็นเงา เนื่องจากมีเยื่อหุ้มไตบางๆ และเหนียวแต่ลอกออกได้ง่าย
          ไตยาว ๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๕ เซนติเมตร และหนา ๓ เซนติเมตร หนักประมาณ ๑๓๐ กรัม อยู่ชิดกับผนังหลังของช่องท้อง สองข้างของสันหลัง ระดับกระดูกสันหลังส่วนอกอันที่ ๑๑ ถึงกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๒ หรือ ๓ ไตขวาต่ำกว่าไตซ้ายประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ไตมีโพรงอยู่ภายใน แต่ปากทางแคบลงเรียกว่า ขั้วไต เป็นทางผ่านของหลอดเลือด
เข้าสู่และออกจากไต ผนังของโพรงไตไม่เรียบ เนื่องจากมีปุ่มเล็กๆ ยื่นเข้ามาจำนวน ๖-๑๕ ปุ่ม
         เนื้อไตประกอบด้วยหลอดไตเล็กๆ จำนวนมากมาย ทุกหลอดเริ่มต้นด้วยผนังบาง โป่งเป็นแคปซูล เรียกว่า โกลเมอรูลาร์แคปซูล (glomerular capsule) ไปล้อมรอบกลุ่มหลอดเลือดฝอย ซึ่งเรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) ทั้งโกลเมอรูลาร์แคปซูล และโกลเมอรูลัส เรียกว่า คอร์ปัสเซิลของไต (renalcorpuscle)หลอดไตเล็กๆ แต่ละท่อนี้มีผนังหนาบางไม่เท่ากันโดยตลอด และการเรียงตัวแต่ละตอนก็ไม่เหมือนกัน จากคอร์ปัสเซิล หลอดเล็กๆ ขดไปขดมาแล้วทอดตรงไปทางโพรงไตและย้อนกลับลงไปใกล้คอร์ปัสเซิลอีก แล้วก็ขดไปขดมา ในที่สุดหลอดเล็กๆ เหล่านี้รวมกับหลอดอื่นๆ ไปสู่ยอดปุ่มที่โพรงไตเข้าสู่ คาลิกซ์ขนาดเล็ก (calyx minor)




ท่อไต   เป็นท่อจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ เริ่มต้นด้วยท่อผนังบาง กว้าง เรียกว่า กรวยท่อไต (pelvis of ureter) ซึ่งบางส่วนอยู่ในโพรงไต และบางส่วนอยู่นอกโพรงไต ส่วนที่อยู่นอกโพรงไต จะเรียวเล็กลงและชี้ลงล่างเรียกว่า ท่อไต
          ภายในโพรงไต กรวยท่อไตจุประมาณ ๘ มิลลิลิตร เกิดจากท่อบางๆ ๓ ท่อ ซึ่งเรียกว่า คาลิกซ์ขนาดใหญ่ (calyx major) มารวมกัน แต่ละอันมีแขนงเล็กๆ เรียกว่า คาลิกซ์ขนาดเล็ก สั้น แต่กว้างเป็นรูปกรวยไปติดรอบๆ ปุ่มของไตเพื่อรับน้ำปัสสาวะจากปุ่มของไต
          ท่อไต มีสีซีด ผนังหนา และรูแคบ ในคนยาว ประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ครึ่งบนอยู่ในช่องท้อง ครึ่งล่างอยู่ในช่องเชิงกรานไปสู่มุมหลังของกระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ  เป็นอวัยวะที่มีผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบ อยู่หลังหัวหน่าว เมื่อไม่มีน้ำปัสสาวะรูปร่างคล้ายหัวเรือบดตัด แต่ส่วนมากกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะอยู่เสมอ ดังนั้นในขณะมีชีวิตจึงมีรูปร่างค่อนข้างกลม
          กระเพาะปัสสาวะมีความจุประมาณ ๕๕๐ มิลลิลิตร แต่โดยทั่วไปเมื่อมีปัสสาวะ ๑๖๐-๓๐๐ มิลลิลิตร ก็รู้สึกปวดปัสสาวะ และถ่ายปัสสาวะออก เมื่อมีน้ำปัสสาวะ ๔๕๐ มิลลิเมตร มันจะสูงขึ้นมาอยู่หลังผนังหน้าท้อง ประมาณ ๗-๘ เซนติเมตร เหนือหัวหน่าว

ท่อปัสสาวะ  เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอกในชาย ท่อปัสสาวะยาว ๒๐ เซนติเมตร นำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอกที่ปลายลึงค์ ท่อปัสสาวะในชายยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิด้วย ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส (S) และแบ่งได้เป็น ๓ ส่วนคือ
          ส่วนที่หนึ่ง ยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดลงล่างในแนวดิ่ง ผ่านกลางต่อมลูกหมาก จึงเรียกว่า ส่วนในต่อมลูกหมาก (prostatic part)เพราะท่อปัสสาวะส่วนนี้มีต่อมลูกหมากล้อมรอบส่วนนี้ และมีท่อจากต่อมลูกหมากจำนวนมากมาเปิดสู่ท่อปัสสาวะส่วนนี้  และยังมีท่อฉีดอสุจิซึ่งเป็นท่อร่วมของเซมินัลเวสิเคิล และ
ท่ออสุจิมาเปิดสู่ท่อปัสสาวะส่วนนี้ด้วย
          ส่วนที่สอง เป็นส่วนสั้นที่สุด มีกล้ามเนื้อลายเป็นหูรูดอยู่ล้อมรอบ เรียกว่า ส่วนบาง (membrarous part)อยู่ต่ำกว่าข้อต่อหัวหน่าวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ไปสู่กระเปาะของลึงค์ (bulb of penis)
         ส่วนที่สาม ยาวที่สุดและคดเคี้ยว อยู่ในเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ ส่วนคอร์ปัสสปอนยิโอซุม (corpus spongiosum)เรียกว่า ส่วนฟองน้ำหรือส่วนในลึงค์ (spongy part) ผ่านส่วนกระเปาะ (bulb) ส่วนลำ (body)และส่วนหัว (glans)ของลึงค์แล้วเปิดสู่ภายนอกที่ปลายลึงค์
          ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว ๔ มิลลิเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่าคลิตอริสประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร
กระดูก (Skeleton system)
Osteology หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับกระดูก
Skeleton หมายถึงส่วนของโครงสร้างที่เป็นของแข็ง ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่ออ่อนๆ (soft tissue) ของร่างกายสัตว์ประกอบด้วย bone, cartilage และ ligament
ความสำคัญของ skeletal system คือเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบที่อยู่ใน locomotor apparatus (ส่วนประกอบที่ใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งก็คือ อวัยวะส่วนที่ประกอบกันเป็นตัวสัตว์เป็นโครงสร้าง ของร่างกายและทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
โครงสร้างของกระดูก
กระดูกมีลักษณะแห้งเมื่อพิจาณาที่เนื้อกระดูกจะเห็นว่ามีส่วนที่แตกต่าง ชัดเจนอยู่สองจุด จุดแรก มีลักษณะ แน่น เรียกว่า Compact boneส่วนที่สองมีเนื้อ ที่เป็นรูพรุน เรียกว่า Spongy bone
ในส่วนของ Compact bone จะมีความหนาในบริเวณส่วนลำตัวของกระดูก เช่น long bone ยกตัวอย่าง เช่น ในพวก สุนัขพันธุ์ เกรทเดน จะมีความหนาของ กระดูก Femur ถึง 3 มม. การเจริญของกระดูกนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับ แรงที่กด ถ้ามีแรงกดมาก ความหนาของกระดูกก็จะเพิ่มตามไปด้วย
Spony bone เป็นโครงสร้างที่แทรกอยู่ที่ส่วนปลายของกระดูก ประเภท long bone หรือแทรกอยู่ ในเนื้อกระดูก ประเภท flat bone ลักษณะของ Spnogy bone จะเป็นโครงตาข่าย สานเป็นร่างแหไปมา เมื่อพิจารณา ส่วนเล็กๆ จะพบว่ามีลักษณะเป็น หนามแหลมๆ สั้นๆ โครงสร้างเหล่านี้ จะทำหน้าที่ในการ ช่วยกระจายแรง ในการรับ น้ำหนัก ในการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกจะต้องคำนึงถึงการกระจาย การรับน้ำหนัก เหล่านี้ด้วย

โครงสร้างของกระดูก
 ชนิดของกระดูก
เมื่อแบ่งกระดูกตามรูปร่างจะพบว่าแบ่งได้ดังนี้
1.  Long bone เป็นกระดูกที่มีลักษณะยาว ประกอบด้วย ส่วน Head สองด้าน และส่วน Shaft หรือลำตัว เมื่อพิจารณาที่ส่วน Head ทั้งสองด้านจะพบว่ามีส่วนที่มีการเจริญเติบโต และส่วนที่ทำหน้าที่สำหรับการเกาะของกล้ามเนื้อ ส่วนที่การเจริญเติบโตต่อไปได้เราเรียกว่า epiphysis และส่วนที่เป็นเฉพาะจุดเกาะของกล้ามเนื้อ เรียกว่า apophysis ภายในท่อนกระดูกบรรจุด้วยช่องไขกระดูก (medullary cavity) เช่น กระดูกต้นขาหลัง (femur) , กระดูกต้นขาหน้า (humerus) เป็นต้น แต่อาจจะพบกระดูกบางอันที่เป็นข้อยกเว้นคือไม่มี medullary cavity อยู่ภายใน เช่นกระดูกซี่โครง( ribs ), กระดูกหน้าแข้งด้านนอก( fibula )ของม้า เป็นต้น
2.  Short bone เป็นกระดูกชิ้นสั้นๆ มักจะวางตัวอยู่ตามข้อต่างๆ มีส่วนช่วยลดการเสียดสีขณะที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ข้อมือ ข้อเท้า กระดูกเหล่านี้มีความแปรผันมากในเรื่องรูปร่าง
3.  Sesamoid bone มักจะพบในส่วนที่มีการเคลื่อนไหว เช่นบริเวณข้อต่อต่างๆ โดยจะทำหน้ารองรับเอ็น เพื่อลดแรงเสียดทาน
4.  Flat bone เป็นกระดูกที่มีรูปร่างแบน เป็นแผ่นๆ เช่นกระดูก scapular
5.  Irregular bones เป็นกระดูกที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่นกระดูกสันหลัง และยังรวมถึงกระดูกของกะโหลกศีรษะทั้งหมด และบางส่วนของ Hip bone
6.  Pneumatic bone เป็นกระดูกที่มีโพรงอากาศอยู่ภายใน ซึ่งไม่ใช่ sinuses สามารถพบได้ตามพวกสัตวืปีก



การเจริญของกระดูกมีอยู่2แบบ
กระดูกมีการเจริญ 2 แบบใหญ่ๆ คือการเจริญโดยอาศัย กระดูกอ่อน (cartilage) เรียกการเจริญ แบบนี้ว่า Replacement bone หรือ endochondral bone ส่วนกระดูกอีกชนิดหนึ่งนั้น จะเจริญอยู่ภายใน connective tissue
Replacement bone มีการเจริญดังนี้ ในเนือเยื่อกระดูกนั้น จะมีองค์ประกอบพิเศษอันหนึ่งที่แทรกตัวใน intercellular metrix เรียกชื่อว่า Osteoid เมื่อร่างกายต้องการขยายขนาดของกระดูกนี้ สาร osteoid จะหลั่งออกมาเป็นตัวเริ่มในขบวนการ หลังจากนั้นจะมีเซลจำพวก Osteoclast เข้ามาจับเซลส์กระดูกที่ตายแล้วกิน และย่อยออกไป เซลพวก Osteoblast จะเข้ามาสร้างเซลกระดูกใหม่ (Osteocyte) เข้าไปแทนที่กระดูกอ่อน แล้วทำให้กระดูกมี การขยายขนาดโตขึ้น และความยาวเพิ่มขึ้น การเพิ่มขนาดของกระดูกนี้ มักจะพบว่ามีมากในบริเวณ epiphyseal plate ซึ่งมีอยู่บริเวณ หัวกระดูก Long bone ทงทางด้าน proximal และ distal การเจริญของกระดูกแบบ Intramembranous ossification จะพบว่ามีการเจริญในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แล้วเกิดการสะสมแคลเซี่ยมขึ้น จนกลายเป็นกระดูกในที่สุด



เส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระดูก
กระดูกมีเส้นเลือดและเส้นประสาทเป็นของตัวเอง โดยเส้นเลือดจะผ่านเข้ากระดูกทาง nutreint foramen และ canal ส่วนเส้นประสาทจะเลี้ยงอยู่บริเวณ periosteum


กล้ามเนื้อ (Muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก" [1]) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) , กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) , และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) [2] ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา
ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและ
กล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
  1. กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) สามารถควบคุมได้ ยึดติดกับกระดูก (bone) โดยเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโครงกระดูกเพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกายและเพื่อรักษาท่าทาง (posture) ของร่างกาย การควบคุมการคงท่าทางของร่างกายอาศัยรีเฟล็กซ์ (reflex) ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เมื่อขยายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายดูจะพบว่า มีลักษณะเป็นลาย โดยทั่วไปร่างกายผู้ชายประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 40-50% ส่วนผู้หญิงจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 30-40%
  2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) ไม่สามารถควบคุมได้ พบดาดอยู่ที่ผนังของอวัยวะภายใน (Viseral Organ) เช่น หลอดอาหาร (esophagus) , กระเพาะอาหาร (stomach) , ลำไส้ (intestine) , หลอดลม (bronchi) , มดลูก (uterus) , ท่อปัสสาวะ (urethra) , กระเพาะปัสสาวะ (bladder) , และหลอดเลือด (blood vessel)
  3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่พบเฉพาะในหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่บีบตัวให้หัวใจเต้น
กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อโครงร่างจัดเป็นกล้ามเนื้อลาย (striated muscle) เพราะว่ามีซาร์โคเมียร์ (sarcomere) และเส้นใยจัดเรียงอยู่ในมัดกล้ามเนื้อ (bundle) อย่างเป็นระเบียบซึ่งไม่พบในกล้ามเนื้อเรียบ ใยกล้ามเนื้อโครงร่างจะเรียงตัวขนานกันอย่างเป็นระเบียบอยู่ในมัดกล้ามเนื้อ แต่กล้ามเนื้อหัวใจมีการแตกสาขา (branching) ในมุมที่แตกต่างกัน กล้ามเนื้อลายสามารถหดตัวและคลายตัวได้รวดเร็ว (contracts and relaxes in short, intense bursts) ในขณะที่กล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้น้อยและช้า (sustains longer or even near-permanent contractions)



หูส่วนนอก
หูส่วนนอก (External ear) ซึ่งประกอบด้วย
  1. ใบหู (Pinna) มีหน้าที่ในการรวบรวมคลื่นเสียงที่มาจากที่ต่างๆ ส่งเข้าสู่รูหู ใบหู มีกระดูกอ่อนอีลาสติก เป็นแกนอยู่ภายใน ทำให้โค้งพับงอได้
  2. ช่องหู หรือ รูหู (Auditory canal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดใบหูเข้ามาจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่เป็นทางเดินของคลื่นเสียงเข้าสู่หูส่วนกลาง รูหูมีขนและต่อมสร้างขี้หู (Ceruminous gland) ทำหน้าที่สร้างขี้หูไว้ดักฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปในรูหู
  3. แก้วหู หรือ เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane หรือ ear drum) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ และเป็นเส้นใยที่มีความยาวเท่าๆกันจึงสั่นสะเทือนเมื่อมีเสียงมากระทบและแยกคลื่นเสียงที่แตกต่างกันได้โดยมีความว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงความดัน แต่จะไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงความเร็ว (คลื่นเสียงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันในช่องหู)
 หูส่วนกลาง
หูส่วนกลาง (Middle ear) เป็นส่วนที่ถัดจากแก้วหูเข้ามา ภายในหูตอนกลางจะมีท่อยูสเทเชียน (Eustachian tube) มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดเล็ก เชื่อมติดระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง มีหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้ภายในหูมีความดันเท่ากับความดันภายนอก ถ้าหากระดับความดันของทั้งสองแห่งไม่เท่ากัน จะมีผลทำให้รู้สึก หูอื้อ และถ้าเกิดความแตกต่างมากจะทำให้รู้สึกปวดหู ภายในหูส่วนกลางนี้มีกระดูก 3 ชิ้นคือ กระดูกค้อน (malleus) กระดูกทั่ง (incus) และกระดูกโกลน (stapes) เรียงตามลำดับจากด้านนอกเข้าสู้ด้านใน มีหน้าที่ในการขยายการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงให้มากขึ้น และจึงส่งต่อการสั่งสะเทือนเข้าสู่หูส่วนในเพื่อแปลเป็นความรู้สึกเพื่อส่งต่อไปยังสมอง

หูส่วนใน
หูส่วนใน (Inner ear) อยู่ถัดจากหูส่วนกลางเข้ามา หูส่วนในประกอบด้วยท่อขดก้น2 ชนิดกั้นทำให้ภายในแยกเป็น 3 ส่วน
  1. เยื่อชนิดแรกเรียกว่า เยื่อเบซิล่าร์ (basilar membrane) ยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร ตอนกลางจะยึดอยู่กับกระดูกแข็ง สไปรัลลามินา (spiral lamina) ส่วนด้านข้างติดอยู่กับเอ็นสไปรัล (spiral ligament) ที่เยื่อนี้มีอวัยวะพิเศษ เรียกว่า อวัยวะของคอร์ตี (organ of corti) อวัยวะชิ้นนี้ประกอบด้วยแถวของเซลล์ขน (hair cell) มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มสองชั้น ปลายเซลล์ขนจะมีซิเลียที่ยาวมากยื่นเข้ามาในส่วนที่เป็นของเหลว และสัมผัสกับเนื้อเยื่อที่อยู่ตรงด้านตรงข้ามที่เรียกว่าเยื่อแทกทอเรียล (tectorial membrane) แต่ละเซลล์มีซิเลียมากกว่า 200 อัน เมื่อของเหลวในคอเคลียสั่นสะเทือน เยื่อทั้งสองด้านจะเคลื่อนที่ใกล้กันมากขึ้น ทำให้ซิเลียเกิดเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งจะไปทำให้เกิดศักย์กิริยาขึ้นที่เซลล์ประสาทที่ติดต่ออยู่ด้วย นำกระแสความรู้สึกผ่านเข้าสู่สมองทางเส้นประสาทออดิทอรี(auditory nerve) ในอัตราที่มากถึง 15,000 ครั้งต่อวินาทีซึ่งเป็นความถี่ของเสียงที่หูของมนุษย์รับได้
   2.  เนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่ง คือ เยื่อไรสส์เนอร์ (Reissner’s membrane) เป็นเยื่อที่ติดอยู่กับผนังด้านในของบริเวณลิมบัส(limbus) และทางด้านข้างติดต่อกับขอบบนของสไตรอาวาสคิวลาริส (stria vascularis) ดังนั้นระหว่างเยื่อเบซิล่าร์และเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเล็กตอนกลางเรียกว่า สกาลามีเดีย (scala media) หรือท่อของคอเคลียจะมีของเหลวอยู่ในช่องนี้ เรียกว่า เอนโดลิมฟ์ (endolymph) ตอนบนของเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเวสทิบิวลาร์คะแนล (vestibular canal) และตอนล่างของเยื่อเบซิลาร์จะมีช่องทิมพานิกคะแนล (tympanic canal) เรียกของเหลวที่บรรจุเต็มช่องบนและช่องล่างว่าเพริลิมฟ์ (perilymph) ตอนยอดของก้นหอยโข่งจะมีรูเปิดติดต่อถึงกันได้ระหว่าง ทิมพานิกคะแนลและเวสทิบิวลาร์คะแนล รูนี้เรียกว่า เฮริโคทรีมา (helicotrema) ที่หน้าต่างรูปไข่จะเป็นบริเวณที่เริ่มต้นของเวสทิบิวลาร์คะแนล ส่วนที่หน้าต่างวงกลมจะอยู่ตอนปลายของทิมพานิกคะแนล การสั่นสะเทือนของของเหลวภายในคอเคลียจะเริ่มต้นที่หน้าต่างรูปไข่แล้วเคลื่อนไปตามเวสทิบิวลาร์คะแนล จนถึงยอดของหอยโข่ง จากนี้จะเคลื่อนมาตามทิมพานิกคะแนล จนไปสิ้นสุดที่หน้าต่างวงกลม จะเห็นได้ว่าการสั่นสะเทือนจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันบนเยื่อกั้นทั้งสองด้านที่เป็นที่อยู่ของเซลล์รับความรู้สึกทางกล ในทิศทางตรงกันข้ามกัน เนื่องจากโครงสร้างที่มีลักษณะพิเศษของคอเคลียดังกล่าวมาแล้ว การสั่นสะเทือนที่ความถี่ระดับหนึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลดลงที่บริเวณหนึ่ง แต่ไปทำให้เพิ่มขึ้นในอีกบริเวณหนึ่งได้ ผลที่ตามมาคือ การสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงๆ จะมีผลกระตุ้นเซลล์ขนได้สูงสุดในบริเวณหน้าต่างรูปไข่

5 ความคิดเห็น:

  1. ความรู้ทั้งหมดที่นำมาเผยแพร่นี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผมที่ไม่ได้ศึกษาด้านการแพทย์มาก่่อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางโลกกายภาพ และประโยชน์ทางธรรม เช่นในการพิจารณาสมถะกัมมัฎฐาน ซึ่งสามารถพิจารณาคู่ไปกับหลักธรรมต่างๆ เกี่ยวกับสังขาร ขอขอบคุณท่านที่ได้เผยแพร่่เป็นวิทยาทาน ขอให้บุญกุศลนี้จงบันดาลให้ท่านเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดไป

    ตอบลบ
  2. คุณต้องการขายไตของคุณหรือไม่? หรือคุณกำลังมองหาโอกาสที่จะขายไตของคุณเพื่อเงินเนื่องจากการทำลายลงทางการเงินและคุณไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรแล้วติดต่อเราวันนี้และเราจะให้คุณจำนวนเงินที่ดีสำหรับไตของคุณ ฉันชื่อ (หมอ Elvis Whyte) เป็นนักประสาทวิทยาในโรงพยาบาลของเราผมเชี่ยวชาญในการผ่าตัดไตและเรายังจัดการกับการซื้อและการปลูกถ่ายไตกับชีวิตผู้บริจาคที่สอดคล้องกัน อีเมลติดต่อ: doctorelviswhyte@gmail.com

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ27 กรกฎาคม 2560 เวลา 22:32

    สวัสดี,

    เราอยู่ที่นี่อีกครั้งเพื่อซื้อไตสำหรับผู้ป่วยของเราและพวกเขาได้ตกลงที่จะจ่ายเงินที่ดีของเงินให้กับทุกคนที่ต้องการบริจาคไตเพื่อบันทึกพวกเขาและดังนั้นหากคุณสนใจที่จะเป็นผู้บริจาคหรือคุณต้องการที่จะช่วยชีวิต, คุณจะกรุณาเขียนเราทางอีเมลด้านล่าง

    นี่เป็นโอกาสสำหรับคุณที่จะร่ำรวยได้เรารับประกันและรับประกันการทำธุรกรรมกับเราได้ 100% ทุกอย่างจะทำตามกฎหมายที่กำหนดให้ผู้บริจาคไต
    เสียเวลามากขึ้นกรุณาเขียนเราเกี่ยวกับ irruaspecialisthospital20@gmail.com

    โรงพยาบาลสอนพิเศษ Irrua

    ตอบลบ
  4. เซอร์แอดดิสัน

    addisonfinancialorporation@gmail.com
    Dear Sir / Madam, คุณต้องการขายไตของคุณ? คุณกำลังหาอะไร
    โอกาสที่จะขายไตของคุณเพื่อเงินเนื่องจากการเสียทางการเงินและคุณไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรแล้วติดต่อเราวันนี้และเราจะให้คุณจำนวนเงินที่ดีสำหรับไตของคุณ ติดต่อเราอีเมล์: addisonfinancialorporation@gmail.com

    ตอบลบ
  5. F-16C - TitaniumArts - The Art of Tails
    F-16C is the F-16C's titanium ring signature all-new model for the titanium element This means mens titanium earrings that it has more titanium mens wedding bands than titanium grades 10 different models of the F-16C,

    ตอบลบ